สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์

Bachelor of Engineering Program in Tool and Die Engineering

เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตโดยทางสาขามีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแม่พิมพ์โลหะแม่พิมพ์พลาสติก และการผลิตชิ้นส่วนที่มีความเที่ยงตรงสูง ซึ่งในการผลิตแม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์พลาสติก

ซึ่งอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่ได้มีการนำเข้าแม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์พลาสติกจากต่างประเทศประเทศไทยโดยรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับปัญหาในเรื่องดังกล่าว จึงให้การสนับสนุนงบประมาณ
โดยให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษาหรือองค์กรที่มีขีดความสามารถเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา
ในการพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์และการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ 

ปริญญาที่ได้รับ :   วศ.บ.  (วิศวกรรมเครื่องมือและแม่พิมพ์) /
B. Eng. (Tool and Die Engineering) 

หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 136  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม
เครื่องมือและแม่พิมพ์ สามารถปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐและเอกชน วิศวกรด้านการออกแบบและผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตชิ้นงานด้วยชุดแม่พิมพ์ นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย ด้านการออกแบบและผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 9 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

วุฒิที่รับเข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างต่อเรือ สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง หรือเทียบเท่าหรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า หรือ

2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล สาขาวิชาเทคโนโลยีการต่อเรือ สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้า สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีขึ้นรูปพลาสติก หรือเทียบเท่าทั้งนี้ โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561