"บ้านแบบไหนที่ต้องมีสถาปนิกเเละวิศวกรเซ็นต์"
วิศวกรและสถาปนิก คือหนึ่งในวิชาชีพเฉพาะทางที่มีบทบาทและความสำคัญในการออกแบบ การก่อสร้าง และการควบคุมงานก่อสร้างซึ่งรู้กันหรือไม่ว่า ก่อนที่บ้านจะออกมาเสร็จสมบูรณ์จนพร้อมเข้าอยู่นั้น ตอนที่ยังเป็นกระดาษเอสี่สามารถก่อสร้างตามแบบได้เองเลยโดยไม่ต้องผ่านสายตาของใคร หรือจะต้องให้ใครคนนั้นซึ่งเป็นนักวิชาชีพเซ็นรับรองเพื่อรองรับความเหมาะสมและความปลอดภัยของแบบบ้าน มาดูกันว่าแบบบ้านลักษณะไหนที่เราต้องให้ใครเซ็น หรือไม่ต้องให้ใครเซ็นบ้าง
*ไม่ต้องมีวิศวกรและสถาปนิกเซ็น*
1. บ้านไม่เกิน 2 ชั้น
2. ช่วงความสูงของชั้นใดชั้นหนึ่งน้อยกว่า 4 เมตร
3. คานภายในบ้านยาวไม่เกิน 5 เมตร
4. มีพื้นที่ใช้สอยรวมทุกชั้นน้อยกว่า 150 ตร.ม.
*สถาปนิกเซ็นคนเดียว*
1. บ้านไม่เกิน 2 ชั้น
2. ช่วงความสูงของชั้นใดชั้นหนึ่งน้อยกว่า 4 เมตร
3. คานภายในบ้านช่วงใดช่วงหนึ่งยาวไม่เกิน 5 เมตร
4. มีพื้นที่ใช้สอยรวมทุกชั้นมากกว่า 150 ตร.ม.
*วิศวกรเซ็นคนเดียว*
1. บ้าน 2 ชั้นขึ้นไป หรือ ช่วงความสูงของชั้นใดชั้นหนึ่งมากกว่า 4 เมตร หรือ คานภายในบ้านช่วงใดช่วงหนึ่งยาวมากกว่า 5 เมตร
2. มีพื้นที่ใช้สอยรวมทุกชั้นไม่เกิน 150 ตร.ม.
*วิศวกรและสถาปนิกเซ็น*
1. บ้าน 2 ชั้นขึ้นไป หรือ ช่วงความสูงของชั้นใดชั้นหนึ่งมากกว่า 4 เมตร หรือ คานภายในบ้านช่วงใดช่วงหนึ่งยาวมากกว่า 5 เมตร
2. มีพื้นที่ใช้สอยรวมทุกชั้นมากกว่า 150 ตร.ม.
จากข้อมูลข้างต้น เป็นข้อมูลสรุปการเซ็นรับรองแบบบ้าน เพื่อทำให้เราเข้าใจและรับรู้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เนื่องจากบางทีหากเราสร้างบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอย รวมถึงคานและช่วงความสูงต่างๆ มากเกินไปโดยที่ไม่ผ่านการรับรองจากวิศกรและสถาปนิก อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยของตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย ซึ่งอาจส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะอยู่อาศัยได้ ทั้งนี้ หากเรามีข้อสงสัยเกี่ยวกับบ้าน ก็สามารถปรึกษานักวิชาชีพดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัย ทั้งในเรื่องของกฎหมายและเรื่องของที่อยุ่อาศัยเพิ่มเติมได้
อ้างอิง :
ข้อกำหนดของแบบบ้านที่ต้องมีลายเซ็นของวิศวกรและสถาปนิก – FIRM รับตรวจบ้าน ออกแบบบ้าน และควบคุมงานก่อสร้าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ แสงธรรมทวี
นางสาวดารุณี เวียงแกสินทรัพย์