สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering

เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่ครอบคลุมเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์เป็นผู้ที่สร้างขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคาร สะพาน ถนน ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์การบริหารจัดการงานก่อสร้างสาขาย่อยของวิศวกรรมโยธา ประกอบด้วย

1. วิศวกรรมโครงสร้าง เน้นงานคำนวณวิเคราะห์ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ

2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก

3. วิศวกรรมขนส่ง แยกเป็น 2 สาขาคือ ระบบและวัสดุงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร

4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดินเพื่อนำมาการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา

5. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคูน้ำ คลองและแม่น้ำ

6. วิศวกรรมสำรวจ ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้านจีพีเอส (GPS) และภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system : GIS)

ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) / B. Eng. (Civil Engineering) 

หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 149  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สามารถปฏิบัติงานในองค์กรภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมโยธา 

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

วุฒิที่รับเข้าศึกษา

2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561