สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering

เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้า การออกแบบ การวิเคราะห์ และสร้างอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า โดยเน้นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นการเรียนเพื่อเข้าใจถึงพื้นฐาน การออกแบบและการผลิตระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจร และนาโนเทคโนโลยี ส่วนใหญ่ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้าควบคุม
  ➡️ สาขาไฟฟ้ากำลัง เรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและแปรรูปพลังงานอื่นมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ระบบแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ต่ำไปจนถึงสูง ระบบการส่งจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไปยังผู้ใช้ทั่วไป

    ➡️ สาขาไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม เรียนเกี่ยวกับระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบเรดาร์ ระบบวิทยุ ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต สัญญาณดิจิตอล เส้นใยแก้วนำแสง

    ➡️ สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมวงจรไฟฟ้าทั้งวงจรแบบอนาล็อกและดิจิตอล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิดที่มีไฟฟ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน

    ➡️ สาขาไฟฟ้าระบบควบคุม เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ออกแบบ และเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างระบบควบคุมหรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่า “ระบบอัตโนมัติ” ตัวอย่างเช่น สายพานลำเลียงในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรผลิตสินค้า

ปริญญาที่ได้รับ :  วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) / B.Eng. (Electrical Engineering)

หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้าและติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบธุรกิจของตนเองเกี่ยวกับไฟฟ้า ครูหรืออาจารย์ที่ทำการสอนด้านไฟฟ้า

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร


วุฒิที่รับเข้าศึกษา

1.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทช่างไฟฟ้า  หรือเทียบเท่า หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือ

2.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทสาขาวิชาไฟฟ้า หรือเทียบเท่า ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม