น้ำฝนที่ตกมาหายไปไหน?
จะเห็นว่าน้ำส่วนแรกจะระเหยเป็นไอน้ำ (evapotraspiration) ส่วนที่สองจะไหลไปตามพื้นผิว (runoff) จากที่สูงไปยังที่ต่ำ อาจจะไปลงระบบระบายน้ำ สระ คูคลอง แม่น้ำ หรือทะเล ส่วนที่สามจะซึมเข้าไปที่ผิวดินตื้นๆ (shallow infiltration) และส่วนสุดท้ายจะซึมลงใต้ดิน (deep infiltration) จากผลการศึกษาของ FISRWG (Federal Interagency Stream Restoration Working Group) จะเห็นว่าสัดส่วนที่ไปของน้ำฝนแตกต่างกันดังนี้
การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาพื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของพื้นผิวที่ไม่สามารถซึมน้ำได้ เช่น ถนน ทางเท้า และอาคาร ส่งผลให้เกิดการไหลบ่าของน้ำที่เพิ่มขึ้นและการเกิดน้ำท่วมในเขตเมืองที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น (Alves et al., 2019) ผลกระทบที่ตามมาคือการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน การปนเปื้อนของแหล่งน้ำ และความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการน้ำท่วมแบบดั้งเดิมมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานสีเทา เช่น ท่อระบายน้ำ ปั้มน้ำ (Burian, Devkota & Apul, 2016) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว แล้ว โครงสร้างพื้นฐานสีเทามักมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูงกว่า และมีความเสียงต่อความเสียหายเมืองเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทำให้ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมได้ (Kuwae & Crooks, 2564) การโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวถูกมองว่าเป็นการวางแผนเชิงพื้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการหลากหลายฟังก์ชั่นภายในโครงสร้างเชิงพื้นที่และการใช้ที่ดินเดียวกัน ส่งผลให้ได้โซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุด เพื่อลดน้ำท่าและเพิ่มประโยชน์หลายประการที่เป็นไปได้สูงสุด